การสอบบัญชี (Auditing)
การสอบบัญชี คือ การรวบรวมและเป็นการประเมินหลักฐานข้อมูลทางบัญชี เพื่อรายงานความถูกต้องของข้อมูลกับหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ การสอบบัญชีควรปฏิบัติโดย ผู้สอบบัญชี โดยการรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับความถูกต้องของงบการเงิน
การสอบบัญชี คือ การรวบรวมและเป็นการประเมินหลักฐานข้อมูลทางบัญชี เพื่อรายงานความถูกต้องของข้อมูลกับหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ การสอบบัญชีควรปฏิบัติโดย ผู้สอบบัญชี โดยการรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับความถูกต้องของงบการเงิน
สิ่งสำคัญที่นักสอบบัญชี ต้องมี
1. Ethics ความโปร่งใส มีความเป็นอิสระ
2. Standard มีมาตรฐานการสอบบัญชี
3. Skepticism ความสงสัย
จุดมุ่งหมายของการตรวจสอบบัญชี
- ค้นหาข้อผิดพลาดและการทุจริต
- แสดงความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องที่ควรในสาระสำคัญของงบการเงิน
ประเภทของการตรวจสอบ มีดังนี้
1. การตรวจสอบงบการเงิน
2. การตรวจสอบการดำเนินงาน
3. การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบ
การจัดการสำนักงานสอบบัญชี มี 3 ฝ่าย
1. Auditor ผู้สอบบัญชีจะต้องให้ความเชื่อมั่นให้กับ User
2. Management ผู้จัดการหรือนักบริหารจัดให้มีงบการเงิน หรืองบทางบัญชี
3. User ผู้ใช้
ความเห็นของผู้สอบบัญชี เป็นความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผล
- งบการเงินโดยรวมจะไม่แสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ไม่ได้แสดงข้อมูลผิดพลาดอันเป็นสาระสำคัญ
- ผู้สอบบัญชีพอใจเกี่ยวกับความเชื่อถือได้ของงบการเงินที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ โดยมีผู้ใช้งบการเงินเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากการรับรองนั้น
ประเภทของการรับรองความถูกต้องของงบการเงิน ได้แก่
1. ความมีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง
2. ความครบถ้วน
3. การวัดมูลค่า หรือการตีราคา
4. สิทธิและภาระผูกพัน
5. การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล
ข้อจำกัดในการตรวจสอบบัญชี
1. คิดต่างกันตรงที่ดุลยพินิจต่างกัน อย่างนั้นการตรวจสอบจึงต่างกัน
2. ในการทำบัญชีจึงเสี่ยงสูง ระบบบัญชีย่อมมีข้อบกพร่องเสมอ การตรวจสอบบัญชี จะต้องไม่พบการทุจริตโดยเด็ดขาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น