22 กรกฎาคม 2552

Working Paper



กระดาษทำการ Working Paper

กระดาษทำการ คือ เอกสารหรือข้อมูลที่เกิดจากการรวบรวมโดยการบันทึกหลักฐานการสอบบัญชีเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี
วัตถุประสงค์ของการจัดทำกระดาษทำการ
1. เพื่อบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
2. เป็นหลักฐานแสดงถึงมาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. เพื่อออก Report
4. ควบคุมดูแลและสอบทานงานสอบบัญชี
5. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของปีต่อไป
องค์ประกอบของกระดาษทำการ
1. หลักฐานการสอบบัญชี (เนี้อหากระดาษทำการตรวจรายการใด กับหลักฐาน อะไร ด้วยวิธีใด)
2. รายมือชื่อ ผู้จัดทำ/ผู้สอบทาน พร้อมลงวันที่กำกับ
3. มีข้อสรุปจากการตรวจสอบ
4. มีหัวกระดาษทำการ
5. ดัชนีกระดาษทำการ (เรียงหน้าถูก)
6. ขอบเขตการตรวจสอบ




จะต้องเขียน PBC ที่หัวกระดาษ แปลว่า Prepared By Client คือ ใส่เพื่อให้รู้ว่าเวลาผิดพลาดในข้อมูลจะได้รู้ว่ามาจากลูกค้า จะได้แก้ไขได้ถูกต้อง
Client = ลูกค้าที่ใช้บริการ
Customer = ลูกค้าที่ซื้อขาย
1. ขอบเขตของการตรวจสอบจะสุ่มลูกหนี้ทั้งหมด 5 ราย คือเป็นยอดหนี้เท่ากับ 67% ของยอดลูกหนี้รวม
2. คือทดสอบการบวกเลข
3. ข้อสรุปจากการตรวจสอบบัญชี
B มาจาก B-1








สรุป
กรณีไม่พบ : การตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ ไม่พบรายการที่ผิดปกติที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้นรายการลูกหนี้ที่แสดงในงบการเงินมีจำนวนเงินที่ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีทั่วไป
6. กรณีพบผิดปกติ : ตรวจสอบการเป็นหนี้กับสำเนาใบส่งของ/ใบเจ้าหนี้ พบว่ามีการบันทึกบัญชีผิดพลาด ดังนั้นจึงเสนอให้ปรับปรุงดังนี้
AJE
Dr. ขายเชื่อ 50000
Cr. ลูกหนี้การค้า 50000
3. จากการตรวจสอบลกหนี้ พบว่าต้องปรับปรุงบัญชีลูกหนี้ ดังนั้นถ้ามีการปรับปรุงบัญชีดังกล่าวจะทำให้บัญชีมีความถูกต้องตามหลักบัญชีรับรองทั่วไป




12 กรกฎาคม 2552

เปิดเรียนวันแรก...แต่ความรู้ยังมึนๆ

ก่อนที่จะศึกษาหัวข้อ การพัฒนาแผนการสอบบัญชี / แนวการสอบบัญชี
เราต้องทำความรู้จัก หลักฐานการสอบบัญชี ( Audit Evideuss ) ก่อน
หลักฐานการสอบบัญชี คือ ข้อมูลที่ทำให้ได้ข้อสรุปจากการตรวจสอบ และนำข้อสรุปที่ได้ไปออกรายงานของผู้สอบบัญชี
แหล่งที่มาของหลักฐาน
1) ข้อมูลจากสมุดบัญชีของลูกค้า
2) ข้อมูลหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับบัญชี
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1) การตรวจ
1.1) เอกสารทางบัญชี
1.2) ความมีตัวตน เช่น เงินสด เครื่องจักร ที่ดิน อาคาร ฯลฯ
2) การสังเกตการณ์ ( คล้ายการตรวจแต่ลูกค้าทำแล้วเราสังเกตการณ์ )
3) ขอคำยืนยันยอด ( ยอดลูกหนี้, เงินกู้, ) การขอคำยืนยันยอดต้องให้ตรงกับบันทึกที่อยู่ในบัญชีและยอดต้องอยู่กับบุคคลภายนอก
4) การคำนวณ
4.1) คำนวณโดยอิสระ (เราคำนวณเอง)
4.2) คำนวณซ้ำ (เราคำนวณอีกรอบ)
5) การสอบถาม
5.1) วาจา (สอบถามกับบุคคลภายใน)
5.2) ลายลักษณ์อักษร (สอบถามกับบุคคลภายนอก)
6) วิเคราะห์เปรียบเทียบ (ต้องมีรายการอย่างน้อย 2 รายการมาเทียบกัน แต่ไม่ให้ข้อสรุปในตัวต้องใช้วิธีอื่นตรวจสอบร่วม)

แหล่งรวบรวมหลักฐาน
1) ภายใน = น่าเชื่อถือน้อยที่สุด
2) ภายนอก
3) จากการปฏิบัติงาน = น่าเชื่อถือที่สุด เพราะผู้สอบบัญชีทำเอง
หลักฐานที่ได้มาจาก 6 วิธีและจาก 3 แหล่ง พิจารณาจาก คุณลักษณะที่ดีของหลักฐาน
1) ความเพียงพอ = พิจารณาจากขอบเขตตามที่เรากำหนดไว้
2) ความเหมาะสม
2.1) ความเกี่ยวพันและวัตถุประสงค์การตรวจสอบ
2.2) ช่วงเวลาที่ได้มา = ทันต่อการตัดสินใจ
2.3) แหล่งที่มากับวิธีการของหลักฐาน
วัตถุประสงค์การตรวจสอบ คือ สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ ซึ่งใช้วิธีการตรวจสอบเท่านั้น
สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ มีดังนี้
1) มีอยู่จริง/เกิดขึ้นจริง
2) ครบถ้วน
3) กรรมสิทธิ์/ภาระผูกพัน
4) การตีราคา/วัดมูลค่า
5) การแสดงรายการ
6) การเปิดเผยข้อมูล
**หัวใจสำคัญของวัตถุประสงค์การตรวจสอบ คือ ดึงวัตถุประสงค์และดึงวิธีการตรวจได้
การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม (Overal Audit Plan)
คือ การนำเอา 6 ขั้นตอนจากการวางแผนมาไว้ด้วยกัน หรือ ข้อมูลสรุปจาก 6 ขั้นตอน


องค์ประกอบ ของการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม
1) ขอบเขตของงาน
2) ข้อมูลบริษัทลูกค้า
3) ความเข้าใจระบบบัญชี
4) ความเสี่ยง/สาระสำคัญ
5) ลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขต
6) การประสานงาน/การสั่งการ, การตรวจสอบ/การควบคุม
แนวการสอบบัญชี (Audit Program) มีองค์ประกอบ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
2) ขอบเขต
3) วิธีการ
4) ระยะเวลาในการตรวจสอบ
5) ดัชนีกระดาษทำการ
6) ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้สอบทาน
ตัวอย่าง
แนวการสอบบัญชีเงินสด
บริษัท ABC จำกัด
1) วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
1.1) เงินสดมีอยู่จริง
1.2) เงินสดมีครบถ้วน
1.3) เงินสดเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ

02 กรกฎาคม 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี (Risk)
จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk : IR)
ความเสี่ยงที่ยังไงก็เลี่ยงไม่ได้ ยังไงก็ต้องเจอกับความเสี่ยงนั้นๆของกิจการ
เช่น กิจการที่ขายเพชรพลอย ถ้าเกิดว่าจะพูดถึงความเสี่ยง ก็อาจจะมีการหายได้ (นี่คือความเสี่ยงของร้านขายเพชรพลอย ที่ต้องเจอ)

ความเสี่ยงสืบเนื่องมี 2 ระดับ
ระดับงบการเงิน เป็นการขัดกับข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ ถ้าจะมองในส่วนของผู้บริหาร ก็จะมองว่า ผู้บริหารเป็นคนกล้าได้กล้าเสียหรือเปล่า หรือ ถ้าจะมองในส่วนของสินค้าคงเหลือ ก็จะมองว่า สินค้าอาจจะมีการสูญหาย หรือ ว่าล้าสมัยไปได้หรือเปล่า

ระดับยอดคงเหลือ/รายการ จะมองเจาะลงไปถึงรายการแต่ละรายการ เช่น รายการเงินสด อาจจะมีการสูญหาย รายการลูกหนี้ อาจจะมีหนี้สูญ รายการสินค้าคงเหลือ อาจจะเกิดความล้าสมัย หรือว่า สูญหาย ซึงเชื่อมโยงมาจากงบการเงิน ในส่วนของงบกำไรขาดทุน
ถ้าเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่อาจจะมีการบันทึกบัญชีสูงไปหรือต่ำไป จะเชื่อมโยงมาจาก

ความเสี่ยงระดับงบการเงินในส่วนของผู้บริหาร
2.ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk : CR)
ถ้าเกิดว่า มีความเสี่ยงสืบเนื่องเกิดขึ้น เราก็จะต้อง มีการควบคุม ในความเสี่ยงนั้นๆ และ ถ้ามีการควบคุมแล้ว ยังเกิดความเสี่ยงอีก เราจะเรียกความเสี่ยงนั้นว่า ความเสี่ยงจากการควบคุม เช่น จากตัวอย่างข้างต้น ที่บอกว่ากิจการเพชรพลอยมีความเสี่ยง คือ เพชรพลอย อาจจะมีการสูญหาย เราก็ได้มีการควบคุม ความเสี่ยงนั้นแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ ก็ยังหายอีก นั่นคือ ความเสี่ยงจากการที่เราได้ควบคุมแล้ว

3.ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk : DR)
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เราไปตรวจสอบกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งกิจการนั้น ได้เกิด ความเสี่ยงจากการควบคุมแล้ว พอเราไปตรวจ โอกาสที่เราจะตรวจเจอความเสี่ยงนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะเจอกับการสูญหายของมูลค่าของกิจการ 100% เช่น เมื่อกิจการเพชรพลอย เกิดความเสี่ยงจากการควบคุมแล้ว ก็ได้จัดผู้สอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบ ปรากฏว่า ก็ยังตรวจไม่พบ กับความสูญหายนั้น หรืออาจจะตรวจพบ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่สามารถตรวจได้พบ 100% นี่คือ ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ

ความเสี่ยงจากการตรวจสอบก็อาจจะเกิดจาก
- การสุ่มตัวอย่าง เพราะโอกาสจะเจอ100% เป็นไปไม่ได้
- วิธีการตรวจสอบ ที่อาจจะใช้วิธีในการตรวจสอบผิดพลาด
- ข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ คงเลี่ยงไม่ได้
อย่างแน่นอนเพราะถ้าเกิดเลี่ยงได้ ก็คงไม่มีความเสี่ยงต่างๆเกิดขึ้นมา

22 มิถุนายน 2552

การวางแผนสอบบัญชีช่วงต้น

การวางแผนสอบบัญชีช่วงต้น

การพิจารณารับงานสอบบัญชี - เพื่อดูความเสี่ยง แยกเป็น 2 กรณี คือ
1. การรับงานบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่ - ดูผู้บริการและสินค้าว่าความเสี่ยงมีมากน้อยเพียงใด ดูข้อมูลทั่วๆไป
2. การรับงานบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม - ควรตรวจดูว่าในอดีตปีที่ผ่านมาใครเป็นผู้ตรวจ และทำไมถึงไม่ใช้บริการกับผู้ตรวจสอบรายเดิม ดังนั้นเมื่ออยากรู้ก็ส่งจดหมายไปยังผู้ตรวจสอบบัญชีรายเก่าว่าที่ไม่ทำงานต่อมีเหตุผลทางมารยาทหรือไม่ เพื่อดูข้อขัดแย้งในเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ และถ้ามีแล้วเรารับได้ เราก็สามารถรับงานได้โดยส่งหนังสือตอบรับงานสอบบัญชี


• รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ - โดย Plant Tour และพกความสงสัย เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และจดบันทึก โดย
- สอบถามผู้บริหารในเรื่อง Project เพื่อดูฐานะการเงิน
- สอบถามคนงาน, แม่บ้าน, รปภ.


• วิเคราะห์เปรียบเทียบเบื้องต้น - เพื่อดูความเสี่ยง โดยขอดูสมุดบัญชีรายวันที่ ดูการวิเคราะห์, ดูแนวโน้มทิศทาง Project ในอนาคต, ดูสมุดบัญชีงบการเงิน

• กำหนดระดับความมีสาระสำคัญ - ระดับความไม่ถูกต้องทางรายการและข้อมูลที่ผู้สอบบัญชียอมรับได้ โดยผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินถูกต้องตามควรแม้จะพบความไม่ถูกต้อง

ตัดสินจากอะไรได้บ้าง
1. ดูขนาดกิจการ
2. ขึ้นกับดุลพินิจของผู้สอบบัญชี



18 มิถุนายน 2552

มาแต่เช้า...เพื่อการสอบบัญชี

วันนี้เรามากันอย่างพร้อมเพรียงมากมาย!!! แต่ว่ากว่าอาจารย์จะมาสอน ช้ากว่าคนที่มาในห้องซะอีกนี่ ตอนยังม่ะเข้าสอนก็เสียงดังอยู่หรอก แต่พออาจารย์เข้ามาแล้ว เสียงเงียบมากเลยอ่ะ เป็นไรมากเปล่าเนี่ย วันนี้เรียนเกี่ยวกับการวางแผนงานสอบบัญชี แต่ทว่า กว่าจะเข้าเรื่องสอน อาจารย์ก็ดุงานที่สั่งสำหรับคนที่มาสายครั้งที่แล้วซะน่วมเลย แต่คนที่ทำดี เราก็ดีใจด้วย ส่วนที่คนที่โดนดุก็แย่หน่อย ก็ต้องปรับปรุง แต่ยังดีนะเนี่ยที่กลุ่มเราไม่โดนกันอ่ะ อิอิ เข้าเรื่องที่เรียนกันเลยดีกว่า...


เวลาวางแผนการดำเนินงาน สิ่งแรกเราก็ต้องวางวัตถุประสงค์ -->แผนกลยุทธ์-->แผนปฏิบัติ หากเป็นการวางแผนการสอบบัญชี ก็จะต้องมีดังนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์ สุดท้ายจะออกเป็นรายงาน
2. แผนงาน ถ้ามองในแง่ Audit จะแบ่งเป็น 3 ประเภท
3. ปฏิบัติงาน
-------------------------------------------------------------------------------
การวางแผนงานสอบบัญชี
การวางแผน คือ แนวทางในการปฏิบัติ, เวลา, วิธีการปฏิบัติงานและสถานการณ์ต่างๆ ในการปฏิบัติที่จะเกิดขึ้นจริง

วางแผนเพื่ออะไร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อออกรายงาน
วัตถุประสงค์การสอบบัญชี
วัตถุประสงค์ = Report
1. ลักษณะ - ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าต้องการทราบอะไร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1.1) Interim Audit (ตรวจสอบระหว่างปี) Test of Control
(ตรวจระบบควบคุมภายใน)
(1.2) Year End Audit (ตรวจสอบสิ้นปี)
Subtamtive Test (ตรวจสอบเนื้อหาสาระทางการเงิน)
2. ระยะเวลา
(2.1) ช่วงระหว่างระยะเวลาภายใน 31 ธ.ค.
(สำหรับตรวจระบบควบคุมภายใน)
(2.2) ตั้งแต่ 31 ธ.ค. – วันที่ยื่นงบการเงิน (สำหรับตรวจสอบสิ้นปี)
3. ขอบเขต - การสุ่มตัวอย่าง ขนาดตัวอย่าง

14 มิถุนายน 2552

การสอบบัญชี (Auditing)

การสอบบัญชี (Auditing)
การสอบบัญชี คือ การรวบรวมและเป็นการประเมินหลักฐานข้อมูลทางบัญชี เพื่อรายงานความถูกต้องของข้อมูลกับหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ การสอบบัญชีควรปฏิบัติโดย ผู้สอบบัญชี โดยการรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับความถูกต้องของงบการเงิน

สิ่งสำคัญที่นักสอบบัญชี ต้องมี
1. Ethics ความโปร่งใส มีความเป็นอิสระ
2. Standard มีมาตรฐานการสอบบัญชี
3. Skepticism ความสงสัย

จุดมุ่งหมายของการตรวจสอบบัญชี
- ค้นหาข้อผิดพลาดและการทุจริต
- แสดงความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องที่ควรในสาระสำคัญของงบการเงิน

ประเภทของการตรวจสอบ มีดังนี้
1. การตรวจสอบงบการเงิน
2. การตรวจสอบการดำเนินงาน
3. การตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบ

การจัดการสำนักงานสอบบัญชี มี 3 ฝ่าย
1. Auditor ผู้สอบบัญชีจะต้องให้ความเชื่อมั่นให้กับ User
2. Management ผู้จัดการหรือนักบริหารจัดให้มีงบการเงิน หรืองบทางบัญชี
3. User ผู้ใช้

ความเห็นของผู้สอบบัญชี เป็นความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผล
- งบการเงินโดยรวมจะไม่แสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ไม่ได้แสดงข้อมูลผิดพลาดอันเป็นสาระสำคัญ
- ผู้สอบบัญชีพอใจเกี่ยวกับความเชื่อถือได้ของงบการเงินที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ โดยมีผู้ใช้งบการเงินเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากการรับรองนั้น

ประเภทของการรับรองความถูกต้องของงบการเงิน ได้แก่
1. ความมีอยู่จริงหรือเกิดขึ้นจริง
2. ความครบถ้วน
3. การวัดมูลค่า หรือการตีราคา
4. สิทธิและภาระผูกพัน
5. การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล

ข้อจำกัดในการตรวจสอบบัญชี
1. คิดต่างกันตรงที่ดุลยพินิจต่างกัน อย่างนั้นการตรวจสอบจึงต่างกัน
2. ในการทำบัญชีจึงเสี่ยงสูง ระบบบัญชีย่อมมีข้อบกพร่องเสมอ การตรวจสอบบัญชี จะต้องไม่พบการทุจริตโดยเด็ดขาด

12 มิถุนายน 2552

วันแรก

เมื่อวาน เป็นวันแรกที่พวกเราได้เรียนวิชาการสอบบัญชี อ.ก็ได้ให้มีการจับกลุ่ม และ อ. ก็ได้ บอกให้พวกเรา ไปสร้าง Blog เป็นของกลุ่มตัวเอง ที่จริงอยากจะบอกว่า ไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย เพื่อนๆในกลุ่มก็ไม่มีใครรู้จัก และก็ไม่มีใครสร้างเป็น แต่ก็อย่างว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเริ่มต้นเสมอ Blog ของกลุ่มพวกเราอาจจะไม่ได้สวยงาม แต่ ก็อยากให้เพื่อนๆเข้ามาดู ละก็ติชมได้นะ ละเดี๋ยว ยังไง พวกเราจะลองเรียนรู้ และ ก็ปรับปรุง Blog ของพวกเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆต่อไป



ชื่อBlog ของกลุ่มเรานะ http://acc3100103.blogspot.com