02 กรกฎาคม 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี (Risk)
จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk : IR)
ความเสี่ยงที่ยังไงก็เลี่ยงไม่ได้ ยังไงก็ต้องเจอกับความเสี่ยงนั้นๆของกิจการ
เช่น กิจการที่ขายเพชรพลอย ถ้าเกิดว่าจะพูดถึงความเสี่ยง ก็อาจจะมีการหายได้ (นี่คือความเสี่ยงของร้านขายเพชรพลอย ที่ต้องเจอ)

ความเสี่ยงสืบเนื่องมี 2 ระดับ
ระดับงบการเงิน เป็นการขัดกับข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ ถ้าจะมองในส่วนของผู้บริหาร ก็จะมองว่า ผู้บริหารเป็นคนกล้าได้กล้าเสียหรือเปล่า หรือ ถ้าจะมองในส่วนของสินค้าคงเหลือ ก็จะมองว่า สินค้าอาจจะมีการสูญหาย หรือ ว่าล้าสมัยไปได้หรือเปล่า

ระดับยอดคงเหลือ/รายการ จะมองเจาะลงไปถึงรายการแต่ละรายการ เช่น รายการเงินสด อาจจะมีการสูญหาย รายการลูกหนี้ อาจจะมีหนี้สูญ รายการสินค้าคงเหลือ อาจจะเกิดความล้าสมัย หรือว่า สูญหาย ซึงเชื่อมโยงมาจากงบการเงิน ในส่วนของงบกำไรขาดทุน
ถ้าเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่อาจจะมีการบันทึกบัญชีสูงไปหรือต่ำไป จะเชื่อมโยงมาจาก

ความเสี่ยงระดับงบการเงินในส่วนของผู้บริหาร
2.ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk : CR)
ถ้าเกิดว่า มีความเสี่ยงสืบเนื่องเกิดขึ้น เราก็จะต้อง มีการควบคุม ในความเสี่ยงนั้นๆ และ ถ้ามีการควบคุมแล้ว ยังเกิดความเสี่ยงอีก เราจะเรียกความเสี่ยงนั้นว่า ความเสี่ยงจากการควบคุม เช่น จากตัวอย่างข้างต้น ที่บอกว่ากิจการเพชรพลอยมีความเสี่ยง คือ เพชรพลอย อาจจะมีการสูญหาย เราก็ได้มีการควบคุม ความเสี่ยงนั้นแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ ก็ยังหายอีก นั่นคือ ความเสี่ยงจากการที่เราได้ควบคุมแล้ว

3.ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk : DR)
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เราไปตรวจสอบกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งกิจการนั้น ได้เกิด ความเสี่ยงจากการควบคุมแล้ว พอเราไปตรวจ โอกาสที่เราจะตรวจเจอความเสี่ยงนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะเจอกับการสูญหายของมูลค่าของกิจการ 100% เช่น เมื่อกิจการเพชรพลอย เกิดความเสี่ยงจากการควบคุมแล้ว ก็ได้จัดผู้สอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบ ปรากฏว่า ก็ยังตรวจไม่พบ กับความสูญหายนั้น หรืออาจจะตรวจพบ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่สามารถตรวจได้พบ 100% นี่คือ ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ

ความเสี่ยงจากการตรวจสอบก็อาจจะเกิดจาก
- การสุ่มตัวอย่าง เพราะโอกาสจะเจอ100% เป็นไปไม่ได้
- วิธีการตรวจสอบ ที่อาจจะใช้วิธีในการตรวจสอบผิดพลาด
- ข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ คงเลี่ยงไม่ได้
อย่างแน่นอนเพราะถ้าเกิดเลี่ยงได้ ก็คงไม่มีความเสี่ยงต่างๆเกิดขึ้นมา

1 ความคิดเห็น:

  1. สรุปได้เข้าใจมากครับ

    ติดอยู่นิดหนึ่ง ใช้ภาษาพูดมากเกินไปนะครับ

    ลองปรับเป็นภาษาเขียนให้มากกว่านี้นะครับ

    ..เป็นกำลังใจให้ครับ...

    ตอบลบ