22 กรกฎาคม 2552

Working Paper



กระดาษทำการ Working Paper

กระดาษทำการ คือ เอกสารหรือข้อมูลที่เกิดจากการรวบรวมโดยการบันทึกหลักฐานการสอบบัญชีเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานสอบบัญชี
วัตถุประสงค์ของการจัดทำกระดาษทำการ
1. เพื่อบันทึกหลักฐานการสอบบัญชี
2. เป็นหลักฐานแสดงถึงมาตรฐานการปฏิบัติงาน
3. เพื่อออก Report
4. ควบคุมดูแลและสอบทานงานสอบบัญชี
5. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของปีต่อไป
องค์ประกอบของกระดาษทำการ
1. หลักฐานการสอบบัญชี (เนี้อหากระดาษทำการตรวจรายการใด กับหลักฐาน อะไร ด้วยวิธีใด)
2. รายมือชื่อ ผู้จัดทำ/ผู้สอบทาน พร้อมลงวันที่กำกับ
3. มีข้อสรุปจากการตรวจสอบ
4. มีหัวกระดาษทำการ
5. ดัชนีกระดาษทำการ (เรียงหน้าถูก)
6. ขอบเขตการตรวจสอบ




จะต้องเขียน PBC ที่หัวกระดาษ แปลว่า Prepared By Client คือ ใส่เพื่อให้รู้ว่าเวลาผิดพลาดในข้อมูลจะได้รู้ว่ามาจากลูกค้า จะได้แก้ไขได้ถูกต้อง
Client = ลูกค้าที่ใช้บริการ
Customer = ลูกค้าที่ซื้อขาย
1. ขอบเขตของการตรวจสอบจะสุ่มลูกหนี้ทั้งหมด 5 ราย คือเป็นยอดหนี้เท่ากับ 67% ของยอดลูกหนี้รวม
2. คือทดสอบการบวกเลข
3. ข้อสรุปจากการตรวจสอบบัญชี
B มาจาก B-1








สรุป
กรณีไม่พบ : การตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ ไม่พบรายการที่ผิดปกติที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้นรายการลูกหนี้ที่แสดงในงบการเงินมีจำนวนเงินที่ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีทั่วไป
6. กรณีพบผิดปกติ : ตรวจสอบการเป็นหนี้กับสำเนาใบส่งของ/ใบเจ้าหนี้ พบว่ามีการบันทึกบัญชีผิดพลาด ดังนั้นจึงเสนอให้ปรับปรุงดังนี้
AJE
Dr. ขายเชื่อ 50000
Cr. ลูกหนี้การค้า 50000
3. จากการตรวจสอบลกหนี้ พบว่าต้องปรับปรุงบัญชีลูกหนี้ ดังนั้นถ้ามีการปรับปรุงบัญชีดังกล่าวจะทำให้บัญชีมีความถูกต้องตามหลักบัญชีรับรองทั่วไป




12 กรกฎาคม 2552

เปิดเรียนวันแรก...แต่ความรู้ยังมึนๆ

ก่อนที่จะศึกษาหัวข้อ การพัฒนาแผนการสอบบัญชี / แนวการสอบบัญชี
เราต้องทำความรู้จัก หลักฐานการสอบบัญชี ( Audit Evideuss ) ก่อน
หลักฐานการสอบบัญชี คือ ข้อมูลที่ทำให้ได้ข้อสรุปจากการตรวจสอบ และนำข้อสรุปที่ได้ไปออกรายงานของผู้สอบบัญชี
แหล่งที่มาของหลักฐาน
1) ข้อมูลจากสมุดบัญชีของลูกค้า
2) ข้อมูลหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับบัญชี
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1) การตรวจ
1.1) เอกสารทางบัญชี
1.2) ความมีตัวตน เช่น เงินสด เครื่องจักร ที่ดิน อาคาร ฯลฯ
2) การสังเกตการณ์ ( คล้ายการตรวจแต่ลูกค้าทำแล้วเราสังเกตการณ์ )
3) ขอคำยืนยันยอด ( ยอดลูกหนี้, เงินกู้, ) การขอคำยืนยันยอดต้องให้ตรงกับบันทึกที่อยู่ในบัญชีและยอดต้องอยู่กับบุคคลภายนอก
4) การคำนวณ
4.1) คำนวณโดยอิสระ (เราคำนวณเอง)
4.2) คำนวณซ้ำ (เราคำนวณอีกรอบ)
5) การสอบถาม
5.1) วาจา (สอบถามกับบุคคลภายใน)
5.2) ลายลักษณ์อักษร (สอบถามกับบุคคลภายนอก)
6) วิเคราะห์เปรียบเทียบ (ต้องมีรายการอย่างน้อย 2 รายการมาเทียบกัน แต่ไม่ให้ข้อสรุปในตัวต้องใช้วิธีอื่นตรวจสอบร่วม)

แหล่งรวบรวมหลักฐาน
1) ภายใน = น่าเชื่อถือน้อยที่สุด
2) ภายนอก
3) จากการปฏิบัติงาน = น่าเชื่อถือที่สุด เพราะผู้สอบบัญชีทำเอง
หลักฐานที่ได้มาจาก 6 วิธีและจาก 3 แหล่ง พิจารณาจาก คุณลักษณะที่ดีของหลักฐาน
1) ความเพียงพอ = พิจารณาจากขอบเขตตามที่เรากำหนดไว้
2) ความเหมาะสม
2.1) ความเกี่ยวพันและวัตถุประสงค์การตรวจสอบ
2.2) ช่วงเวลาที่ได้มา = ทันต่อการตัดสินใจ
2.3) แหล่งที่มากับวิธีการของหลักฐาน
วัตถุประสงค์การตรวจสอบ คือ สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ ซึ่งใช้วิธีการตรวจสอบเท่านั้น
สิ่งที่ผู้บริหารให้การรับรองไว้ มีดังนี้
1) มีอยู่จริง/เกิดขึ้นจริง
2) ครบถ้วน
3) กรรมสิทธิ์/ภาระผูกพัน
4) การตีราคา/วัดมูลค่า
5) การแสดงรายการ
6) การเปิดเผยข้อมูล
**หัวใจสำคัญของวัตถุประสงค์การตรวจสอบ คือ ดึงวัตถุประสงค์และดึงวิธีการตรวจได้
การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม (Overal Audit Plan)
คือ การนำเอา 6 ขั้นตอนจากการวางแผนมาไว้ด้วยกัน หรือ ข้อมูลสรุปจาก 6 ขั้นตอน


องค์ประกอบ ของการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม
1) ขอบเขตของงาน
2) ข้อมูลบริษัทลูกค้า
3) ความเข้าใจระบบบัญชี
4) ความเสี่ยง/สาระสำคัญ
5) ลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขต
6) การประสานงาน/การสั่งการ, การตรวจสอบ/การควบคุม
แนวการสอบบัญชี (Audit Program) มีองค์ประกอบ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
2) ขอบเขต
3) วิธีการ
4) ระยะเวลาในการตรวจสอบ
5) ดัชนีกระดาษทำการ
6) ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้สอบทาน
ตัวอย่าง
แนวการสอบบัญชีเงินสด
บริษัท ABC จำกัด
1) วัตถุประสงค์การตรวจสอบ
1.1) เงินสดมีอยู่จริง
1.2) เงินสดมีครบถ้วน
1.3) เงินสดเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ

02 กรกฎาคม 2552

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี (Risk)
จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk : IR)
ความเสี่ยงที่ยังไงก็เลี่ยงไม่ได้ ยังไงก็ต้องเจอกับความเสี่ยงนั้นๆของกิจการ
เช่น กิจการที่ขายเพชรพลอย ถ้าเกิดว่าจะพูดถึงความเสี่ยง ก็อาจจะมีการหายได้ (นี่คือความเสี่ยงของร้านขายเพชรพลอย ที่ต้องเจอ)

ความเสี่ยงสืบเนื่องมี 2 ระดับ
ระดับงบการเงิน เป็นการขัดกับข้อเท็จจริงอย่างมีสาระสำคัญ ถ้าจะมองในส่วนของผู้บริหาร ก็จะมองว่า ผู้บริหารเป็นคนกล้าได้กล้าเสียหรือเปล่า หรือ ถ้าจะมองในส่วนของสินค้าคงเหลือ ก็จะมองว่า สินค้าอาจจะมีการสูญหาย หรือ ว่าล้าสมัยไปได้หรือเปล่า

ระดับยอดคงเหลือ/รายการ จะมองเจาะลงไปถึงรายการแต่ละรายการ เช่น รายการเงินสด อาจจะมีการสูญหาย รายการลูกหนี้ อาจจะมีหนี้สูญ รายการสินค้าคงเหลือ อาจจะเกิดความล้าสมัย หรือว่า สูญหาย ซึงเชื่อมโยงมาจากงบการเงิน ในส่วนของงบกำไรขาดทุน
ถ้าเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่อาจจะมีการบันทึกบัญชีสูงไปหรือต่ำไป จะเชื่อมโยงมาจาก

ความเสี่ยงระดับงบการเงินในส่วนของผู้บริหาร
2.ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk : CR)
ถ้าเกิดว่า มีความเสี่ยงสืบเนื่องเกิดขึ้น เราก็จะต้อง มีการควบคุม ในความเสี่ยงนั้นๆ และ ถ้ามีการควบคุมแล้ว ยังเกิดความเสี่ยงอีก เราจะเรียกความเสี่ยงนั้นว่า ความเสี่ยงจากการควบคุม เช่น จากตัวอย่างข้างต้น ที่บอกว่ากิจการเพชรพลอยมีความเสี่ยง คือ เพชรพลอย อาจจะมีการสูญหาย เราก็ได้มีการควบคุม ความเสี่ยงนั้นแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แต่ ก็ยังหายอีก นั่นคือ ความเสี่ยงจากการที่เราได้ควบคุมแล้ว

3.ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk : DR)
เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการที่เราไปตรวจสอบกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งกิจการนั้น ได้เกิด ความเสี่ยงจากการควบคุมแล้ว พอเราไปตรวจ โอกาสที่เราจะตรวจเจอความเสี่ยงนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะเจอกับการสูญหายของมูลค่าของกิจการ 100% เช่น เมื่อกิจการเพชรพลอย เกิดความเสี่ยงจากการควบคุมแล้ว ก็ได้จัดผู้สอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบ ปรากฏว่า ก็ยังตรวจไม่พบ กับความสูญหายนั้น หรืออาจจะตรวจพบ แต่ในความเป็นจริงก็ไม่สามารถตรวจได้พบ 100% นี่คือ ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ

ความเสี่ยงจากการตรวจสอบก็อาจจะเกิดจาก
- การสุ่มตัวอย่าง เพราะโอกาสจะเจอ100% เป็นไปไม่ได้
- วิธีการตรวจสอบ ที่อาจจะใช้วิธีในการตรวจสอบผิดพลาด
- ข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ คงเลี่ยงไม่ได้
อย่างแน่นอนเพราะถ้าเกิดเลี่ยงได้ ก็คงไม่มีความเสี่ยงต่างๆเกิดขึ้นมา